ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง

Center of Excellence in Urban Strategies (CE.US.)

ข้อมูลทั่วไป

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง (CE.US.: Center of Excellence in Urban Strategies) เดิมคือหน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาเมือง (URDRU: Urban Renewal and Development Research Unit) ซึ่งก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช 2559 และได้รับการอนุมัติผลการดำเนินงานและสนับสนุนทุนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อเลื่อนระดับเป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 ภายใต้ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อแสวงหาความรู้ และประยุกต์ใช้ความรู้หรือวิทยาการด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเมืองให้เป็นประโยชน์ในการออกแบบและวางผังเมืองให้สามารถตอบสนองการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

พันธกิจของหน่วยวิจัย

  1. รวบรวมและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูและการพัฒนาเมือง ในแนวทางและปรัชญาของเมืองสุขภาวะ (healthy city) เมืองคาร์บอนต่ำ (low carbon city) เมืองเป็นธรรม (just city) และเมืองเทคโนโลยี (technology city) ผ่านศาสตร์ของ การผังเมืองทั้งหมด ได้แก่ การวางแผนภาค การวางผังเมือง สถาปัตยกรรมผังเมือง การวางแผนนโยบาย การบริหารจัดการเมือง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. สร้างผลงานวิจัย ผลงานวิชาการในรูปแบบต่างๆ เช่น ผลงานการวางผังและออกแบบ ที่นำไปสู่การตีพิมพ์เผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
  3. ให้บริการวิชาการหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูและพัฒนาเมือง ตามแนวทางของเมืองสุขภาวะ เมืองคาร์บอนต่ำ เมืองเป็นธรรม และเมืองเทคโนโลยี

เป้าหมายของหน่วยวิจัย

  1. เป็นคลังความรู้ทางวิชาการด้านการพัฒนาและฟื้นฟูเมืองของประเทศ โดยมีผลงานการศึกษาวิจัย นวัตกรรมซอฟต์แวร์ และองค์ความรู้ที่มีการเผยแพร่ ผ่านสิ่งตีพิมพ์และสื่ออื่นๆ อย่างต่อเนื่อง
  2. พัฒนาหน่วยปฏิบัติการวิจัยไปสู่ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

วัตถุประสงค์หลัก

  1. ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่นิสิต นักศึกษา นักวิชาการ อาจารย์ นักผังเมือง สถาปนิกผังเมือง และบุคคลทั่วไป ผ่านการเรียนการสอน การอบรมสัมมนา สิ่งตีพิมพ์ และสื่อต่างๆ
  2. สร้างความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาชั้นนำ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูเมืองที่มีคุณภาพ

บุคลากร

- หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัย: รองศาสตราจารย์ ดร.พนิต ภู่จินดา
- รองหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ
- เลขานุการหน่วยปฏิบัติการวิจัย: อาจารย์ ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย
- ที่ปรึกษา : ศาสตราจารย์ ดร.วรรณศิลป์ พีระพันธุ์
รองศาสตราจารย์ ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์
- คณาจารย์ประจำหน่วยวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คมกริช ธนะเพทย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย
อาจารย์ ดร.พรสรร วิเชียรประดิษฐ์
อาจารย์ ดร.สิริรัตน์ เสรีรัตน์
อาจารย์ ดร.สุธี อนันต์สุขสมศรี
อาจารย์ สุภาพิมพ์ คชเสนี
อาจารย์ ภัณฑิรา จูละยานนท์
- นักวิจัย นางสาว ภัทรชนน ผลชีวิน
นายเกษมพันธุ์ ตระกูลขจรศักดิ์
นาย พชร ตังสวานิช
นาย พฤฒิเชษฐ์ เลิศอุดมพฤกษา
น.ส.ภานินี ชยานันท์
นาย อาณาจักร รัตนกิจการกล

แนวทาง / ตัวอย่างของงานที่ทำ

  • โครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4 เสนอต่อกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2560 – )
  • โครงการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติตามผังเมืองรวม ด้านการโอนสิทธิการพัฒนา (TRD) และผลตรวจการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ (PUD) เสนอต่อกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2560)
  • โครงการจัดทำเกณฑ์และมาตรฐานผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน เสนอต่อกรมโยธาธิการและผังเมือง (พ.ศ. 2560 – )
  • โครงการจัดทำแผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ เสนอต่อ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. 2560)
  • โครงการศึกษาวิจัยการฟื้นฟูและพัฒนาเมืองเพื่อการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ (พ.ศ. 2560 – )
    • ผลงานตีพิมพ์ TUDA NEW (ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ส.ค. 60) เรื่องโอกาสของสถาปนิกผังเมืองกับการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนระบบราง (Urban Designers and TODs)
    • นำเสนอผลงานวิจัยเรื่องจุดเปลี่ยนถ่าย (TOD) ในนิทรรศการ TUDA 2017 “ Bangkok on Rails” ณ ลานแฟชั่นฮอล์ ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน ตั้งแต่วันที่ 22-28 ส.ค.60
    • นำเสนอผลงานวิจัยโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในนิทรรศการ จุฬาฯวิชาการ (CU Expo 2017) “ จุฬาฯ ๑๐๐ ปี นวัตกรรม คิดทำเพื่อสังคม” ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 15-19 มี.ค.60
    • การสร้างความร่วมมือเพื่อรองรับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง กับ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ)
  • โครงการศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมของมาตรการตามผังเมืองรวมเพื่อส่งเสริมการพัฒนา ในพื้นที่เขตกรุงเทพฯชั้นในและเขตกรุงเทพฯชั้นกลาง เสนอต่อสำนักผังเมือง กรุงเทพมหา (พ.ศ. 2559)
  • โครงการศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบแนวคิดโครงการ PTT Smart City เสนอต่อ บริษัท ปตท. จำกัด (พ.ศ. 2558)