ผังเมืองจุฬาฯ

หลักสูตร / Courses

สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง

B.Arch.

Bachelor of Architecture Program in Urban Architecture

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง เป็นหลักสูตรสหสาขาวิชา (Multidisciplinary Program) ที่มีการเรียนการสอนครอบคลุมเนื้อหาทั้งออกแบบ (Design) การวางแผน (Planning) การทำวิจัย (Research) ควบคู่กับทักษะด้านวิชาชีพ (Practice) ส่งเสริมการเรียนรู้แบบสหศาสตร์ที่ต้องบูรณาการความรู้ของหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน อันนำไปสู่การพัฒนางานการวางแผนและการออกแบบที่ครอบคลุมทุกประเด็นสำคัญของเมือง สนับสนุนโดยคณาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีความรู้ความสามารถจากหลากหลายสาขา รวมถึงมีผลงานวิจัย ตำราและผลงานวิชาการทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่องมากที่สุดของประเทศ ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยวิจัย (Research Unit) ที่มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันพัฒนา เปลี่ยนแปลงและแก้ปัญหาเมืองที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและก้าวทันกับสถานการณ์การพัฒนาเมืองของโลกในปัจจุบัน

การเรียนการสอน

ผู้เรียนสามารถสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลา 5 ปี ประกอบด้วยวิชาบังคับที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติการในด้านการออกแบบเมือง (Urban Design) และด้านการวางแผน (Planning) รวมไปถึงวิชาเลือกที่ส่งเสริมทักษะเฉพาะด้าน อาทิ เครื่องมือในการวิเคราะห์เชิงพื้นที่สำหรับการวางผังและออกแบบ ตลอดจนทฤษฎีและแนวคิดการพัฒนาเมืองเชิงลึกในทุกมิติทั้งเศรษฐกิจ สังคม กายภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถศึกษาในเชิงลึกตามความถนัดและความสนใจ รวมถึงการจัดทัศนศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างเสริมประสบการณ์ในการทำงานด้านการวางแผนและออกแบบ โดยมีความร่วมมือในการเรียนการสอน การทำวิจัยและการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกที่มีสาขาวิชาเกี่ยวข้องกับการวางแผนและออกแบบเมือง

จำนวนหน่วยกิตที่จำเป็นสำหรับจบการศึกษารวมตลอดหลักสูตรมีจำนวนทั้งสิ้น 174 หน่วยกิต โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. จำนวนหน่วยกิตวิชาเรียน 162 หน่วยกิต

  • รายวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
  • รายวิชาบังคับพื้นฐาน 55 หน่วยกิต
  • รายวิชาบังคับสาขา 77 หน่วยกิต
  • รายวิชาเลือกสาขา 6 หน่วยกิต
  • รายวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

2. จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

ปีที่ 1

ภาคต้น 19 หน่วยกิต

  • หลักการออกแบบงานสถาปัตยกรรม
  • ปฏิบัติการออกแบบ
  • การนำเสนอแบบทางสถาปัตยกรรม 1
  • ประวัติศาสตร์ศิลปะและสถาปัตยกรรม
  • โครงสร้างในงานสถาปัตยกรรม
  • ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง 1

ภาคปลาย 19 หน่วยกิต

  • หลักการออกแบบสิ่งแวดล้อม 1
  • ปฏิบัติการออกแบบสิ่งแวดล้อม 1
  • การนำเสนอแบบทางสถาปัตยกรรม 2
  • มรดกสถาปัตยกรรมไทย
  • โครงสร้างและวัสดุ
  • ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง 2

ปีที่ 2

ภาคต้น 19 หน่วยกิต

  • หลักการออกแบบสิ่งแวดล้อม 2
  • ปฏิบัติการออกแบบสิ่งแวดล้อม 2
  • การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับสถาปัตยกรรมเมือง 1
  • ภาษาอังกฤษสำหรับสาขาวิชา 1
  • การตั้งถิ่นฐานมนุษย์
  • วิชาเลือกศึกษาทั่วไป

ภาคปลาย 19 หน่วยกิต

  • หลักการออกแบบสิ่งแวดล้อม 3
  • ปฏิบัติการออกแบบสิ่งแวดล้อม 3
  • การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับสถาปัตยกรรมเมือง 2
  • ภาษาอังกฤษสำหรับสาขาวิชา 2
  • วิชาเลือกศึกษาทั่วไป

ปีที่ 3

ภาคต้น 19 หน่วยกิต

  • การวางผังพัฒนาเมือง
  • ปฏิบัติการวางผังพัฒนาเมือง
  • การวางผังขนส่งเมือง
  • การออกแบบองค์ประกอบเมือง 1
  • เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ในงานสถาปัตยกรรมเมือง
  • วิชาเลือกสาขา

ภาคปลาย 19 หน่วยกิต

  • การวางผังฟื้นฟูมือง
  • ปฏิบัติการวางผังฟื้นฟูเมือง
  • การวางผังโครงสร้างพื้นฐานเมือง
  • การออกแบบองค์ประกอบเมือง 2
  • สังคมวิทยาเมือง
  • วิชาเลือกสาขา

ปีที่ 4

ภาคต้น 19 หน่วยกิต

  • การวางผังและออกแบบชุมชน
  • ปฏิบัติการวางผังและออกแบบชุมชน
  • เศรษฐศาสตร์เมือง
  • การวางแผนจัดการสิ่งแวดล้อม
  • สถิติประยุกต์เพื่อการวางแผน
  • วิชาเลือกเสรี

ภาคปลาย 19 หน่วยกิต

  • การวางผังและออกแบบเมือง
  • ปฏิบัติการวางผังและออกแบบเมือง
  • การบริหารจัดการเมือง
  • การควบคุมการวางผังและออกแบบเมือง
  • วิชาเลือกสาขา
  • วิชาเลือกเสรี

ปีที่ 5

ภาคต้น 15 หน่วยกิต

  • การวางแผนภาคและเมือง
  • ปฏิบัติการวางแผนภาคและเมือง
  • การปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมผังเมือง
  • การเตรียมวิทยานิพนธ์
  • วิชาเลือกเสรี

ภาคปลาย 12 หน่วยกิต

  • วิทยานิพนธ์

โอกาสในการประกอบอาชีพ

สังคมโลกกำลังให้ความสำคัญกับปรากฏการณ์เมือง ความต้องการบุคลากรที่มีความเข้าใจด้านการพัฒนาเมืองกำลังเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรด้านการวางผังและออกแบบเมืองของประเทศและกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบวิชาชีพสถาปนิกผังเมือง นักผังเมือง และนักวิจัยด้านการวางแผนและออกแบบเมือง เป็นบุคลากรที่มีคุณภาพทำงานรับใช้สังคมได้ทั้งด้านการวางแผนนโยบายและยุทธศาสตร์ การออกแบบ การบริหารจัดการ และการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเชิงพื้นที่และการวางผังและแผนทุกระดับ สามารถทำงานอยู่ในหน่วยงานของรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ รัฐวิสาหกิจ ตลอดจนบริษัทของเอกชนหลายแห่ง อาทิ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และบริษัทที่ปรึกษาทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายหรือเทียบเท่า และมีคุณสมบัติตามระเบียบการสมัครสอบเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

เป็นไปตามระเบียบการคัดเลือกบุคคลเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

[back to top]